วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติพระแม่กาลี

เจ้าแม่กาลี: เทวีผู้ปราบกาลียุคความเชื่อและศรัทธาที่ชาวฮินดูมีต่อเทพเจ้านั้นหนักแน่นและมั่นคงนับแต่อด ีตตราบจนปัจจุบัน โดยชาวฮินดูเชื่อว่าโลกนี้ดำเนินไปได้ด้วยอำนาจของตรีมูรติ คือเทพเจ้าทั้งสามองค์อันได้แก่ พระพรหมผู้สร้าง พระวิษณุผู้รักษา และพระศิวะผู้ทำลาย นอกจากเทพทั้งสามที่ชาวฮินดูนับถือแล้วยังมีเทวีปรากฏขึ้นในฐานะชายาของเท พเหล่านี้ ได้แก่ เทวีสรัสวดีชายาของพระพรหม เทวีลักษมีชายาของวิษณุเทพ และเทวีปารวตีชายาของศิวเทพ เทวีทั้งสามนี้มีฤทธานุภาพใกล้เคียงกับเทพเจ้าเลยทีเดียวในครั้งนี้จะขอแนะนำให้ท่านผู้ฟังได้รู้จักกับอวตารปางหนึ่งของชายาพระศิว ะ ซึ่งมีผู้นับถือกันอย่างมากโดยเฉพาะในกัลกัตตาอดีตเมืองท่าของอินเดียนั่น คือ เจ้าแม่กาลี โดยปกติแล้วชายาของพระศิวะมีพระนามที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นของผู้นับถื อ เช่น ปารวตี อุมาเทวี และเจ้าแม่กาลี เป็นต้น เจ้าแม่กาลีเป็นอวตารปางหนึ่งของชายาพระศิวะที่มีผู้นับถือเป็นอย่างมากใน เมืองกัลกัตตา ในเมืองนี้มีวัดเจ้าแม่กาลีอยู่บริเวณ “กาลีฆัต” ซึ่งแปลว่าท่าไปสู่ที่เจ้าแม่กาลี ภายในโบสถ์มีรูปเจ้าแม่กาลีประดิษฐานอยู่ วัดนี้ถือเป็นศูนย์รวมใจของชาวเบงกอลที่นับถือศาสนาฮินดูอย่างแท้จริง ด้วยความศรัทธาที่ชาวฮินดูในกัลกัตตามีต่อเจ้าแม่กาลีจึงทำให้เกิดเทศกาลบ ูชาเจ้าแม่กาลีขึ้นในราวเดือนตุลาคมของทุกปี ในวันงานมีการจัดซุ้มต่างๆเพื่อบูชาเจ้าแม่กาลี มีการแสดงนิทรรศการแสงสี เสียง ในวันนั้นมีเสียงสวดมนต์ดังไปทั่วทั้งเมือง ช่วงกลางคืนประชาชนก็จะแต่งตัวสวยงามออกจากบ้านเพื่อไปบูชาเจ้าแม่กาลีในซ ุ้มที่มีรูปเจ้าแม่กาลีปางปราบอสูรประดิษฐานอยู่ โดยรูปปั้นของพระนาง อยู่ในท่ายืนยกขาขึ้นข้างหนึ่งแลบลิ้นที่เปื้อนเลือด มี 10 เศียร 10 พระกร 10 พระบาท มีศีรษะมารห้อยคอต่างพวงมาลัยและมีนิ้วมือมารประดับไว้รอบเอวเหตุที่ประชา ชนให้ความเคารพศรัทธาเจ้าแม่กาลีก็เนื่องมาจากพระนางเป็นเทวีผู้ปราบอสูรแ ละนำความสงบมาสู่โลก ตามตำนานกล่าวไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกอสูรได้รับพรวิเศษจาก พระพรหม คือ ให้เป็นอมตะ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ด้วยความหลงอำนาจพวกอสูรจึงระรานและเกี้ยวพาเหล่านางฟ้าอย่างไม่เกรงใจเหล ่าเทวดาจนทำให้เหล่าเทวดาเดือดร้อนและได้นำเรื่องนี้ไปร้องเรียนพระพรหม พระพรหมจึงมีบัญชาให้พระศิวะผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการทำลายเป็นผู้ไปกำราบเหล ่าอสูร แต่พระชายาของพระศิวะเป็นผู้อาสาปราบเหล่าอสูรในครั้งนี้แทน โดยชายาของศิวเทพได้อวตารเป็นเจ้าแม่กาลีและได้ทำสงครามกับเหล่าอสูรเป็นเ วลานานเพราะในขณะสู้รบกันนั้นถ้าเลือดของอสูรหยดลงพื้นดินเพียงหยดเดียวก็ จะเกิดอสูรขึ้นหนึ่งตน ดังนั้นพระนางจึงต้องหาวิธีที่จะทำให้เลือดของอสูรที่เกิดจากการสู้รบไม่ตกลงสู่พื้น ในที่สุดพระนางจึงตัดสินใจแลบลิ้นของตนรับเลือดเหล่าอสูรตลอดระยะเวลาที่พ ระนางทำสงครามกับเหล่าอสูรนั้น และด้วยวิธีนี้เองที่ทำให้พระนางสามารถปราบอสูรได้สำเร็จจากตำนานที่กล่าวมานี้จึงทำให้ชายาพระศิวะในอวตารของเจ้าแม่กาลีแลบลิ้นที ่เปื้อนเลือดมีศีรษะมารห้อยคอต่างพวงมาลัยและมีนิ้วมือมารประดับไว้รอบเอว ซึ่งก็คือเลือด ศีรษะ และนิ้วมือของเหล่าอสูรที่กล่าวไว้ในตำนานนั่นเอง นอกจากรูปของเจ้าแม่กาลีที่เกิดขึ้นจากตำนานแล้ว การบูชาเจ้าแม่กาลีด้วยเลือดสดๆก็เกิดขึ้นจากตำนานนี้เช่นกัน นั่นคือหลังจากที่เจ้าแม่กาลีปราบอสูรได้แล้วประชาชนก็จัดงานฉลองเพื่อเป็ นการรำลึกถึงพระคุณของพระนางโดยในการเซ่นบวงสรวงโดยนำเลือดสดๆไปบูชา กล่าวกันว่าในยุคแรกๆมีการนำหญิงพรหมจารีไปทำพลีกรรมโดยนำเลือด บริสุทธิ์ในลำคอไปบูชาเจ้าแม่กาลี แต่เมื่อเวลาล่วงไปถึงช่วงที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียได้สั่งห้ามไม่ให้นำ มนุษย์มาใช้ในการบูชา จึงทำให้การบูชาเจ้าแม่กาลีในปัจจุบันนี้เหลือเพียงการนำแพะมาใช้ในการบูช าแทน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะได้กลิ่นคาวของเลือดแพะแทนที่กลิ่นหอม ของธูปและดอกไม้เมื่อเข้าไปในวัดที่มีการบูชาเจ้าแม่กาลีการทำลายชีวิตหนึ่งเพื่อแสดงความศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจจะดูไม่ถูกต้ องนักในสายตาของหลายๆท่านที่ได้รับฟังเรื่องราวนี้ แต่มีอีกสิ่งที่เราต้องยอมรับก็คือความเชื่อและความศรัทธาที่ชาวฮินดูมีต่ อเทพเจ้าทั้งหลายของพวกเขา รวมถึงความเชื่อในเรื่องอีกหลายๆเรื่องที่เรานึกไม่ถึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ ให้กระแสของวัฒนธรรมตะวันตกไม่สามารถเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมของชาวฮิ นดูได้อย่างง่ายดายเหมือนกับการที่วัฒนธรรมตะวันตกกำลังแทรกซึมอยู่ในประเ ทศทางตะวันออกอีกหลายๆประเทศ